Translate

วันศุกร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2556

ไฟซีนอน ( XENON )





ไฟซีนอน ( XENON )
 H.I.D : HYPER INTENSITY DISCHARGE

          น้อยคนนักที่อาจจะยังไม่รู้จัก และมีหลากหลายสื่อในวงการรถยนต์ในประเทศไทยก็ได้เคยนำเสนอเกี่ยวกับไฟซีนอน ( XENON HID ) แต่ก็ยังมีอีกหลายคนยังไม่เข้าใจหลักการทำงานของไฟซีนอน ( XENON HID ) จนทำให้ยังงงๆกันอยู่ ซึ่งบางคนอาจเข้าใจผิดว่า ไฟซีนอน ( XENON HID ) สว่างมากเกินไป จนแยงสายตารถคันอื่น 

          ในปัจจุบันนี้ได้มีการพัฒนาระบบไฟซีนอน ( XENON HID ) ให้มีแผ่นรองกั้นแสง ( Filter ) เพื่อไม่ให้แสงซีนอน ( XENON ) ตกกระทบบริเวณ Reflex ภายในโคมด้านล่าง ซึ่งมีผลทำให้แสงซีนอน             ( XENON ) สะท้อนออกไปอย่างเป็นระเบียบไม่ฟุ้งกระจาย และจะเห็นได้ชัดเจนในหลอดไฟซีนอน         ( XENON HID ) ในชนิดขั้ว H4 Lo/Hi จึงทำให้หมดปัญหาในเรื่องแสงไฟซีนอน ( XENON ) แยงตาอีกต่อไป ซึ่งในอดีตไฟซีนอน ( XENON HID ) เป็นเพียงของเล่นราคาแพงสำหรับคนมีเงินที่ต้องการเน้นเรื่องความปลอดภัยในการขับขี่รถยนต์ในยามค่ำคืน หรือเป็นชุดแต่งรถสำหรับผู้ที่ต้องการความสวยงามโดดเด่น จนเป็นเหตุให้ต้องจ่ายเงินอีกหลายหมื่นบาทในการติดตั้งชุดไฟซีนอน ( XENON HID )

         สำหรับไฟซีนอน ( XENON HID ) เริ่มถูกนำมาใช้เป็นอุปกรณ์ติดในรถอย่างจริงจังเมื่อ ประมาณ 10 ปี  ที่แล้ว ซึ่งเริ่มต้นมีติดตั้งในรถหรูหราราคาแพงคันละหลายล้านบาท แล้วก็เริ่มมีบริษัทรถยนต์อื่นๆ เริ่มนำระบบไฟซีนอน ( XENON HID ) มาติดตั้งในรถราคาไม่ถึงล้านบาท แม้กระทั่งรถปิคอัพบางยี่ห้อก็มีใช้แล้ว แต่ก็ยังไม่แพร่หลายซักเท่าไหร่ ถ้าไม่นับรถปิกอัพแล้ว ก็จะมีแต่รถคันละล้านกว่าบาทขึ้นไปที่มีไฟซีนอน ( XENON HID ) จึงทำให้ระบบไฟซีนอน ( XENON HID ) เป็นเสมือนระบบไฟชนิดพิเศษที่มีในรถราคาแพงเท่านั้น และยากที่จะหาซื้อใช้ได้ง่ายๆ แต่ก่อนถ้าจะติดตั้งเพิ่มเติมก็ต้องเสียเงินชุดละหมื่นถึงสองหมื่นบาท ซึ่งหลายคนอาจรู้จักไฟซีนอนเพียงผิวเผิน รู้แต่ว่ามีใช้ในรถราคาแพงและสว่างดี ส่วนการทำงานจริงเป็นอย่างไร หรือติดตั้งเพิ่มได้ไหม จะรู้สึกว่าเป็นเรื่องไกลตัว 

         คนในยุคนี้ส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับหลอดไฟแบบฮาโลเจน หรือหลอดแบบมีไส้ภายในที่บรรจุก๊าซฮาโลเจน บางคนก็เรียกเพี้ยนๆ ว่าหลอดไฮโดรเจน ซึ่งแตกต่างกันกับหลอดไฟซีนอน ( XENON HID ) ในเรื่องรายละเอียดของหลักการทำงานเพื่อให้เกิดแสงสว่าง ซึ่งส่วนประกอบภายในหลอดฮาโลเจน (Halogen) จะมีรหัสเรียก อาทิ H1, H3, H4 , H7, HB3, HB4, H11 เป็นต้น ซึ่งมีราคาตั้งแต่หลอดละ 50 บาทขึ้นไปจนถึงหลักหลายพันบาท เมื่อเปรียบเทียบหลักการทำงานแบบง่ายๆ ของหลอดฮาโลเจน ก็คือเป็นหลอดแบบมีไส้จ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าไปแล้วทำให้ขดลวดร้อนเปล่งแสง ผ่านก๊าซที่มีชื่อเรียกว่า ฮาโลเจน ที่บรรจุอยู่ในหลอดชนิดนี้ ถ้าหลอดแตกจนก๊าซรั่วหรือไส้ขดลวดขาดก็จะเสียทันที ซึ่งจะใช้ไฟฟ้า 12 V / 4.8A ( 55W ) จากระบบไฟฟ้าปกติของรถ เพื่อให้เกิดแสงสว่าง โดยจะสว่างขึ้นอย่างฉับไวแบบเดียวกับที่กระพริบไฟสูง ลองนึกถึง ดวงไฟกลมๆ แบบเกลียว หรือ เขี้ยวที่ใช้ในบ้าน เป็นทรงคล้ายน้ำเต้า มีไส้ขดลวดต่อไฟฟ้าเข้าโดยตรงนั่นเอง แสงของไฟมักจะสว่างแบบอมเหลือง 

         ส่วนหลอดไฟซีนอน ( XENON HID ) ภายในจะบรรจุก๊าซชื่อว่า ซีนอน ( XENON ) เป็นหลอดแบบไม่มีไส้ขดลวด เกิดแสงสว่างโดยก๊าซซีนอน ( XENON ) ทำปฎิกิริยากับกระแสไฟฟ้าทำให้เกิดแสงสว่าง ซึ่งจะแตกต่างกับหลอดแบบฮาโลเจน แต่จะทำงานคล้ายกับหลอดไฟนีออนที่ใช้ในบ้านหรือหลอดตะเกียบ และจะต้องมีตัวแปลงกระแสไฟฟ้าที่เรียกว่า บัลลาสต์ ( BALLAST ) ซึ่งจะเป็นกล่องที่คั่นระหว่างสายไฟปกติ ก่อนต่อเข้ากับตัวหลอดไฟซีนอน ( XENON HID ) แสงที่ได้จะออกมานวลๆใกล้เคียงกับแสงอาทิตย์และสามารถเลือกเฉดสี หรือค่าอุณหภูมิสี (Kelvin) หรือค่า K ได้อีกตามความชอบ ซึ่งการเปิดให้หลอดไฟซีนอน ( XENON HID ) ให้สว่าง ตัวบัลลาสต์จะสร้างกระแสไฟฟ้าระดับ 20,000 กว่าโวลต์ส่งเข้าไปยังตัวหลอดไฟซีนอน ( XENON HID ) เพื่อสตาร์ทตัวในครั้งแรก และในอีกประมาณ 1-2 วินาที แล้วก็จะลดกระแสไฟฟ้าลงเหลือ 12 V / 3.2 A ( 35W ) ต่อเนื่องตลอดการทำงาน

         ดังนั้น ระบบไฟซีนอน ( XENON HID ) จะมีกระแสไฟฟ้าเป็นหมื่นโวลต์ถูกสร้างขึ้น มาด้วยกล่องบัลลาสต์ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ เพื่อจุดหลอดให้สว่างขึ้นต่อจากนั้น ประมาณ 1-2 วินาที ก็จะลดกระแสไฟฟ้าลงมาเหลือ 12 V / 3.2 A ( 35W ) ความสว่างในตัวหลอดซีนอน ( XENON ) ก็จะสว่างเต็มที่ ซึ่งนิยมใช้แต่กับหลอดไฟต่ำแต่ไม่นิยมใช้ กับไฟสูง เพราะไฟซีนอนจะชาร์ตตัวสว่างขึ้นไม่ทัน ดังนั้น จึงไม่นิยมใช้เป็นหลอดไฟ ซีนอน ( XENON HID ) ในส่วนของไฟสูงซึ่งในปัจจุบันจะนิยมใช้หลอดฮาโลเจนเป็นไฟสูง เนื่องจากปัญหาในการใช้งานน้อย สรุปก็คือ ฮาโลเจน คล้ายกับหลอดไฟกลมที่ใช้ในบ้านต่อไฟฟ้าเข้าไปได้โดยตรงเลย ส่วนหลอดไฟซีนอน ( XENON HID ) จะคล้ายกับหลอดนีออนหรือหลอดตะเกียบชนิดไม่มี ไส้ที่ใช้ภายในบ้านและต้องมีตัวแปลงไฟหรือบัลลาสต์ใช้ในการใช้งานคู่กัน

รูปทรงของหลอดชนิดต่างๆ







ค่าอุณหภูมิสี Xenon H.I.D. (K: Kelvin)
XENON HID Color Temperatures in K (Degrees Kelvin)






Reflector Vs Projector
ทิศทางของลำแสง ของโคมแบบ reflector



          จากรูป การที่ลำแสงถูกยิงออกจากหลอดไฟ จะตกกระทบโคมภายใน เมื่อแสงตกกระทบโคมภายในซึ่งมีเหลี่ยมของโคมที่แตกต่างกัน แสงจะเกิดการหักเห การที่เหลี่ยมของโคมถูกออกแบบให้มีมุมต่างกันนั้น ก็เพื่อคำนึงถึงการใช้งานของไฟสูงด้วย ถ้าเหลี่ยมของโคมถูกออกแบบให้สามารถใช้ได้แต่กับไฟต่ำอย่างเดียว ผลที่ออกมาก็คือ ต่อให้เปิดไฟสูงแค่ไหน แสงที่ส่องออกไปก็จะส่องในลักษณะของไฟต่ำตามการออกแบบ โคม reflector จะเน้นหลอดที่มีไส้หลอดทั้งไฟสูงและไฟต่ำในหลอดเดียวกัน อาทิชนิดขั้วหลอด H4 Hi/Low 

           การที่ไส้หลอดไฟสูงอยู่ในตำแหน่งล่างของไส้หลอดไฟต่ำนั้น ก็เพื่อที่ให้ลำแสงจากหลอดตกกระทบเหลี่ยมล่างของโคมบังคับลำแสงให้เปลี่ยนทิศทางลักษณะพุ่งเชิดขึ้น (แสงเดินทางเป็นเส้นตรงเร็วมากในอากาศ แต่ถ้าในน้ำ หรือในปริซึม หรือในพลาสติกใสๆ หรือแก้ว แสงจะเดินทางช้าลง เนื่องจากมีการหักเหของแสง) ด้วยเหตุที่โคม reflector ภายในได้ถูกออกแบบมาเพื่อคำนึงถึงการใช้งานของไฟสูงด้วย เหลี่ยมมุมองศาต่างๆภายในจึงทำให้ลำแสงที่ตกกระทบ เกิดการหักเหภายในโคมแล้วยิงออกมา จะปรากฏทิศทางการสะท้อนของแสงไม่สม่ำเสมอ แสงจะกระจัดกระจายไม่เป็นระเบียบ ด้วยเหตุที่แสงออกมากระจัดกระจายครอบคลุมพื้นที่บนถนนมากนั้น จึงเป็นเหตุให้คนส่วนใหญ่นั้นชอบใช้ เพราะจะทำให้ทัศนวิสัยในการขับขี่ดี ดูได้ทั่วถึง

ทิศทางของลำแสง ของโคมแบบ Projector



         จากรูป โคมแบบ Projector ได้ถูกออกแบบมาโดยเฉพาะ เพื่อควบคุมการหักเหของแสงและการสะท้อนของแสง การที่ลำแสงถูกยิงออกจากหลอดไฟ จะตกกระทบโคมภายใน เมื่อแสงตกกระทบโคมภายในซึ่งลักษณะทรงโค้งผิวเรียบไม่มีเหลี่ยมใดๆนั้น โคมที่ผิวมนเรียบในลักษณะนี้จะช่วยบังคับทิศทางของแสง ให้ตกกระทบและหักเหโดยมีมุมองศาเป็นแนวเส้นตรงอย่างสม่ำเสมอ หลังจากที่แสงตกกระทบโคมภายในแล้ว แสงที่เกิดจากหักเหภายในโคม จะมีการจำกัดลำแสงที่พุ่งออกไป โดยแผ่นกั้นแสง เพื่อไม่ให้แสงที่ตกกระทบมุมล่างของโคมพุ่งออกไปในลักษณะที่เชิดขึ้น จึงทำให้แสงที่จะหักเหออกไปในทิศทางองศามุมเงยนั้นถูกปิดกั้น จึงทำให้ลำแสงที่ผ่านแผ่นกั้นแสงไปนั้นทำมุมน้อยกว่า 90 องศาของแผ่นกั้นแสง โดยแสงในทิศทางมุมเงยจะถูกกำจัดออกไป

         หลังจากผ่านแผ่นกั้นแสงไปแล้ว จะเข้าสู่เลนส์ เลนส์ (lens) คือ วัตถุโปร่งใสที่มีผิวหน้าโค้งทำจากแก้วหรือพลาสติก ใช้ทำหน้าที่รับแสง เลนส์แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ เลนส์นูนและเลนส์เว้า เลนส์นูน (convex lens) คือ เลนส์ที่มีลักษณะหนาตรงกลางและบางที่ขอบ ทำหน้าที่รวมแสง เลนส์ Projector จะทำหน้าที่รวมแสงให้เข้มขึ้นเพื่อส่งไปยังวัตถุ ซึ่งส่วนนี้มีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นด่านสุดท้ายที่จะจำกัดลำแสงให้มีมุมของแสงที่ส่องออกไปอยู่ในลักษณะที่มีมุมแคบลง ในองศาที่น้อยกว่า 90 องศาของแผ่นกั้นแสง ทำให้ลำแสงที่พุ่งออกไปนั้นไม่เงยขึ้นสูง ลำแสงที่ผ่านเลนส์ออกมาจะพุ่งไปในทิศทางที่เป็นระเบียบ โดยแสงที่ส่องลงบนท้องถนนนั้น มีจุดตัดอย่างชัดเจนสม่ำเสมอ ด้วยเหตุที่แสงถูกจำกัดออกมาในลักษณะนี้ จึงทำให้มีผลกระทบในเรื่องการมองเห็นถนน เพราะลำแสงที่ออกมาจากโคมจะมีมุมที่แคบลง จะพุ่งออกไปด้านหน้ารถแนวเส้นตรง โดยไม่พุ่งออกทางด้านข้างเท่าที่ควร ทำให้ทัศนวิสัยในการขับขี่เวลาเข้าโค้งจะมองไม่ค่อยเห็นรอบๆข้างทางเท่าที่ควร ดูได้ไม่ค่อยทั่วถึง จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้โคมแบบ Projector มีทัศนวิสัยในการมองที่แคบลงหรือน้อยลงกว่าโคม reflector

         ถึงแม้ว่าจะปรับระยะ Cut off ของโคมให้ส่องไปไกลก็ไม่สามารถมองเห็นรอบๆอยู่ดี เนื่องด้วยระยะทางของแสงที่จำกัด ทำให้ถ้าตั้งไฟระดับที่สูง จะส่องพุ่งไปมองเห็นได้ไกลก็จริง แต่จะทำให้เห็นในมุมแคบๆไปด้วย ถ้าปรับระดับโคมสูงมากเกินไปเพียงเล็กน้อย สิ่งที่เกิดขึ้นคือความอันตรายอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการขับขี่ทางที่มีแสงจากแหล่งอื่นรบกวนมากๆ แสงจากเสาไฟฟ้าข้างถนนหรือในขณะฝนตก จะไม่มีแสงช่วยในการมองถนนเลย

         จากรายละเอียดดังกล่าว จะเห็นได้ว่า โคม Projector ถูกออกแบบมาเพื่อควบคุมการหักเหของแสงและทิศทางของแสงโดยเฉพาะ เพื่อคำนึงถึงการใช้งานของไฟต่ำ จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อใส่หลอดที่มี 2 ไส้ Hi/Low ผลที่ออกมาก็คือ ต่อให้เปิดไฟสูง แสงที่ส่องออกไปก็จะส่องในลักษณะของไฟต่ำอย่างเดียว เนื่องจากถูกจำกัดและปิดกั้นลำแสงในมุมเงยโดยแผ่นกั้นแสงนั่นเอง ดังนั้น โคม Projector จึงได้ถูกออกแบบเป็นบล็อค โดยบล็อคช่องไฟสูงและบล็อคช่องไฟต่ำแยกจากกันโดยอิสระ เพื่อเน้นการทำงานของแสงให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อผู้ขับขี่ และลดการก่อความรำคาญต่อเพื่อนร่วมทาง

         รูปเปรียบเทียบของลำแสงระหว่าง HID กับ Halogen
         ทำไมต้องเลือก H.I.D. จุดเด่นที่สุดก็คือความเข้มของแสงที่เพิ่มขึ้น หลอดฮาโลเจนที่ว่าดีที่สุดจะให้แสงสว่างได้เพียง 1300 ลูเมน ที่กำลังไฟ 55 วัตต์ ในขณะที่ HID สามารถให้แสงสว่างได้ถึง 4200 ลูเมน ที่กำลังไฟเพียง 35 วัตต์เท่านั้น หรือเกือบสามเท่าความสว่าง


credit รูป : http://www.baristanetnj.com


credit รูป : http://www.bestxenon.ro



http://www.newdmax-club.com/index.php/topic,4306.msg78582.html?PHPSESSID=8d93e2c2508693e45a2b37d2bc08b81d#msg78582

วันศุกร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2556

มาตรฐานน้ำมันเบรค DOT คืออะไร


มาตรฐานน้ำมันเบรค DOT คืออะไร



มาตรฐานด้านความปลอดภัยได้กำหนดชื่อมาตรฐานสำหรับน้ำมันเบรค ว่า DOT
(Department of Transportation) ที่เรียกจนติดปาก
โดยกำหนด จุดเดือดของน้ำมันเบรก DOT3 ไม่ต่ำกว่า 205 องศาเซลเซียส
DOT4 ไม่ต่ำกว่า 230 องศาเซลเซียส DOT5 260 องศาเซลเซียส



สำคัญอย่างไร ? ?
จากคุณสมบัติของน้ำมันเบรคจะเห็นได้ว่าจุดเดือดของน้ำมันเบรคเป็น สิ่งสำคัญ
เนื่องจากเวลาเราเหยียบเบรคที่ความเร็วสูงหรือบรรทุกหนัก อุณหภูมิที่ผ้าเบรคและจานเบรคจะสูงมาก
ความร้อนดังกล่าวจะถ่ายเทมายัง น้ำมันเบรคด้วย ถ้าน้ำมันเบรคมีจุดเดือดต่ำจะสามารถระเหยและกลายเป็นไอได้
เมื่อ เป็นเช่นนั้นมันก็ไม่สามารถทำหน้าที่เป็นตัวกลางถ่ายทอดกำลัง หรือทำหน้าที่ไฮดรอลิกในระบบเบรคได้
จะทำให้เกิดเบรคไม่อยู่ เบรคจม หรือเรียกว่า เบรคแตก

ยกตัวอย่างการขับขี่ที่ใช้เบรคมากกว่าปกติ นั่นคือการใช้เบรคขณะลงเขา
กรณีดังกล่าวอาจเกิดขึ้นได้ถ้าผู้ขับขี่ไม่ ระวัง หรือใช้เบรคมากจนเกินไป
การลงเขาที่ถูกต้องนั้น ถ้าสังเกตดีๆ จะเห็นได้ว่าข้างทางจะมีป้ายเตือนให้ผู้ขับรถใช้เกียร์ต่ำ
ดังนั้นการ ใช้เกียร์ต่ำก็คือการให้เครื่องยนต์เป็นตัวช่วยในการเบรคนั่นเอง (Engine Brake)
การทำดังกล่าวจะเป็นการช่วยลดภาระของระบบเบรคได้มากทีเดียว การใช้เกียร์ต่ำคือการลดเกียร์ลง เช่น กรณีใช้เกียร์สี่อยู่ก็ให้ลดมา ที่เกียร์สาม หรือเกียร์สอง ถ้าสังเกตดูจะเห็นว่าเวลาลดเกียร์ รอบเครื่องยนต์จะสูงขึ้น นั่นก็คือการใช้เครื่องยนต์เป็นตัวช่วยเบรค  จะทำให้อุณหภูมิเบรคไม่ร้อนจนเกินไป

สำหรับ ท่านที่ใช้เบรคมากเกินไปจนรู้สึกว่าเบรคไม่อยู่ หรือได้กลิ่นไหม้จากการเบรค ให้รีบจอดรถข้างทาง รอจนกว่าเบรคจะเย็นหรือประมาณ 30 นาทีเป็นอย่างน้อย ลองทดสอบเบรคดู
ถ้าเบรคอยู่แล้ว ให้ค่อยๆขับต่อโดยขับช้าๆ พร้อมใช้เกียร์ต่ำ และเบรคเท่าที่จำเป็น
การ ขับรถช้าๆ ความเร็วของรถจะไม่สูง ดังนั้นการใช้เบรคก็จะน้อยตามไปด้วย


ทำไมต้องเปลี่ยน ? ?
จากตัวอย่างการเกิดเบรคจมหรือเบรคไม่อยู่ขณะลงทางชันหรือลงจากเขา ส่วนหนึ่งมาจากน้ำมันเบรคไม่สามารถทนความร้อนจากการเบรคในลักษณะการขับ ขี่ที่ไม่ถูกต้อง หรือน้ำมันเบรคเสื่อมสภาพ (จุดเดือดต่ำลง) ดังนั้นการ ที่ต้องทำให้น้ำมันเบรคมีจุดเดือดสูงนั้น เนื่องจากว่าสารเคมีในน้ำมันเบรคมีคุณสมบัติดูดซับความชื้น ยิ่งในเขต ที่มีความชื้นสูงอย่างประเทศไทย ความชื้นยิ่งมีโอกาสแทรกไปปนอยู่ในน้ำมันเบรคได้ง่ายขึ้น โดยจะทำให้จุด เดือดของน้ำมันเบรคลดลงตามลำดับ ดังนั้นคุณสมบัติของน้ำมันเบรคจึงควรมี จุดเดือดสูงไว้ตั้งแต่แรก ได้เคยมีผู้ทดลองไว้ว่าภายในระยะ 12-15 เดือน น้ำมันเบรคสามารถดูดซับความชื้นทำให้จุดเดือดลดลงเหลือประมาณ 140 องศาหรือต่ำกว่า ซึ่งถ้าหากใช้ต่อไปอาจก่อให้เกิดอันตรายหรือไม่ปลอดภัย ต่อผู้ขับขี่ได้ อีกอย่างหนึ่งคือ เมื่อมีการดูดซับความชื้นเข้าไปในระบบ (มีน้ำเข้าไป) ก็จะทำให้เกิดสนิมได้เมื่อใช้ไปนานๆ บางครั้งเมื่อเราเจอปัญหาเรื่อง เบรคไม่อยู่ หรือรั่ว ช่างก็จะถอดแม่ปั๊มเบรคออกมาดูจะพบว่าลูกยางตาย เสื่อม สภาพ กระบอกสูบของแม่ปั๊มเบรคเป็นสนิม หรือตามด ถ้าเกิดสนิมตามดเล็ก น้อยก็สามารถใช้กระดาษลูบแก้ไข แต่ถ้ากินจนเนื้อหายก็ต้องเปลี่ยนทั้งแม่ปั๊ม ท่านเจ้าของรถหลายท่านรวม ถึงช่างบางคนก็ยังไม่รู้ว่าสนิมเหล่านั้นมาได้อย่างไร



ปัจจุบัน มีเครื่องวัดคุณภาพของน้ำมันเบรคว่าน้ำมันเบรกที่เราใช้อยู่นั้นยังอยู่ใน เกณฑ์ที่ยังสามารถใช้งานได้อยู่ หรืออยู่ในส่วนที่เป็นอันตรายแล้ว การวัดดังกล่าวใช้เวลาสั้นมากเพียงแค่ 2-3 วินาทีก็สามารถรู้ได้ว่าน้ำ มันเบรคเสื่อมสภาพแล้วหรือยัง การวัดสภาพน้ำมันเบรคสามารถปรับตั้งค่าการวัดที่ตัววัดสภาพน้ำมันเบรคได้ เนื่อง จากคุณภาพน้ำมันเบรค เกรดน้ำมันเบรคแตกต่างกัน (DOT) แล้วแต่ผู้ให้บริการ หรือ ศูนย์บริการซ่อมเลือกใช้ การวัดจากเครื่องวัดจะบอกเป็นตัวเลขและสภาพไปพร้อมๆกัน ตัวอย่าง เช่น

เลข “0” หมายถึง น้ำมันเบรคใหม่ (new oil)
เลข “1-2” น้ำมันเบรคปกติ (Normal)
เลข “3-4” ควรเปลี่ยน (Change)
เลข “5-6” อันตราย (Danger)

การเลือกเกรดน้ำมันเบรคปัจจุบันก็มีให้เลือกหลายยี่ห้อตามแต่จะเลือกใช้ ส่วนใหญ่ก็จะเลือกใช้ยี่ห้อเดิม
หรือตามที่ศูนย์บริการเปลี่ยนให้ โดยส่วนใหญ่จะใช้ DOT4 สามารถดูได้ข้างกระป๋องว่าที่เราใช้อยู่นั้นเป็นเกรด หรือ DOT อะไร การเลือกใช้น้ำมันเบรคที่มี DOT สูงกว่าไม่เป็นการผิดแต่อย่างใด
แต่จะมีค่าตัวสูงกว่าเดิมเล็กน้อย การเปลี่ยนยี่ห้อน้ำมันจากที่เราเคยใช้อยู่นั้น ควรถ่ายของเดิมทิ้งให้หมด
แล้ว เลือกเติมตามที่เราต้องการ แต่ควรเป็น DOT ที่เท่ากัน หรือสูงกว่าเท่านั้น

ดังนั้น ผู้ใช้รถควรหมั่นตรวจสอบ และเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเบรคตามระยะที่กำหนด
โดย เฉพาะผู้ที่ขับรถด้วยความเร็วสูง ผู้ที่บรรทุกหนักหรือวิ่งทางลาดชันบ่อยๆ และใช้งานเบรคหนักต่อเนื่องบ่อย ควรเปลี่ยนน้ำมันเบรคทุกๆ 1 ปี ถ้าไม่แน่ใจก็ให้สอบถามตามศูนย์บริการมาตรฐานทั่วไป
โดยระยะเวลาหรือ ระยะทางของแต่ละบริษัท อาจแตกต่างกันไปบ้าง แต่ก็เป็นพื้นฐานใกล้เคียงกัน
ดัง นั้นอยากให้ผู้ใช้รถตระหนักถึงเรื่องน้ำมันเบรคด้วย เพราะถ้าระบบเบรคมีปัญหาในช่วงขับขันจะเกิดอันตรายทั้ง ร่างกายและ ทรัพย์สินของผู้ขับขี่ ผู้โดยสารรวมถึงบุคคลอื่นที่อาจเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย


ที่ปะยางฉุกเฉิน

คงไม่สนุกแน่ถ้าวันไหนที่คุณควบมอเตอร์ไซค์คันเก่ง เดินทางไปเที่ยวต่างจังหวัดแล้วโดนตะปูตำยางแตก ถ้าเจอร้านปะยาง หรือปั้มน้ำมันใกล้ๆ ก็โชคดีไป แต่ถ้าโชคร้ายไม่มีร้านปะยางอยู่แถวนั้นเลยล่ะ??

แนะนำให้ลองหาซื้อเจ้านี่เลยครับ  ที่ปะยางฉุกเฉินแบบแทงไหม 



วิธีใช้งานก็ไม่ยางครับ
1.ดึงวัสดุที่ตำยางออก แล้วทำความสะอาดรอยแผลบริเวณที่จะปะ
2.เอาตัวแทงยางที่อยู่ในชุดปะยางทางด้านซ้าย แทงเข้าไปที่รอยรั่วของยาง
3.เอาไหมปะยางสวมเข้าไปที่ตัวแทงไหมที่อยู่ในชุดปะยางทางด้านขวา
4.ใช้ตัวแทงไหมที่ใส่ไหม แทงเข้าไปในรอยแผล ให้ไหมคาอยู่แล้วดึงออก
5.ตัดแต่งไหมส่วนเกินให้เรียบร้อย แล้วเติมลมยาง เป็นอันเสร็จสิ้น

ถ้ายังไม่เข้าใจก็ลองดู VDO ประกอบ
ส่วนราคาชุดปะยางแบบฉุกเฉิน ผมเห็นแถวสำเพ็งมีขายชุดละร้อยเดียวเองครับ


วันพฤหัสบดีที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2556

เปลี่ยนน้ำมันเครื่อง CBR250


เอาละ วันนี้จะมา D.I.Y. ขั้นตอนการเปลี่ยน "น้ำมันเครื่อง" กับ "ไส้กรองน้ำมันเครื่อง" ของ CBR250r ให้ชมกัน เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่อยากทราบ
และต้องการจะดูแล บำรุงรักษา มอเตอร์ไซค์ คันโปรดของเราให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ที่สุดครับ

เริ่มจากเตรียมอุปกรณ์ เครื่องมือต่างๆ กันก่อนเลย




ขั้นแรก ถอดน็อตปิดฝาเติมน้ำมันเครื่อง หาภาชนะมารองน้ำมันเครื่องที่จะถ่ายทิ้ง และใช้ประแจเบอร์ 12 ถอดน็อตถ่ายน้ำมันเครื่องที่อยู่ใต้เครื่องเพื่อเริ่มถ่ายน้ำมันเครื่องเก่าทิ้งก่อนครับ






การขันน็อตถ่ายน้ำมันเครื่องระวังอย่าขันผิดทางนะครับ เดี๋ยวเกลียวหวานงานจะเข้า ให้มาอยู่ด้านซ้ายของรถแล้วขันเข้าหาตัวตามภาพ







เสริมอีกนิด ก่อนถ่ายน้ำมันเครื่องควรจะวอร์มเครื่องยนต์ให้อุ่น ๆ สักระยะหนึ่ง เพื่อให้น้ำมันเครื่องเหลว และสามารถไหลออกจากเครื่องยนต์ได้ง่าย จะได้พาเศษผงโลหะ สิ่งสกปรกต่าง ๆ ออกมากับตัวน้ำมันเครื่องครับ


ถอดแฟริ่งด้านขวาออกโดยใช้ 6 เหลี่ยมเบอร์ 5 ขันน็อตออก 3 จุดครับ







เมื่อถอดน๊อตออกครบ 3 จุดแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการ "ดึง" แฟริ่งออกครับ อาจจะหวาดเสียวนิดหน่อยสำหรับผู้ไม่เคยถอด แนะนำให้จับตามภาพแล้วดึงออกตรง ๆ ครับ






ถอดขั้นไฟเลี้ยวออกครับ อย่าจับสายไฟแล้วดึง ให้จับที่ขั้วทองแดงแล้วดึง ถ้าแน่นมากใช้คีมปากจิ้งจกดึงเอา เดี๋ยวสายไฟขาดงานจะงอก






ถอดน็อตยึดอกไก่ด้านขวา 2 ตัวออก โดยใช้ 6 เหลี่ยมเบอร์ 5 ตามภาพ







ขั้นตอนต่อไป ให้ขันน็อตเบอร์ 8  4 ตัวที่ยึดฝาปิดไส้กรองน้ำมันเครื่องออก โดยขันแนวทะแยง
ตอนนี้เลื่อนภาชนะรองน้ำมันเครื่องมารองให้ดีนะครับ






ค่อย ๆ ถอดฝาปิดไส้กรองน้ำมันเครื่องออก ระวังสปริงที่อยู่ในฝากระเด็นหายด้วย ก็จะเห็นไส้กรองน้ำมันเครื่องครับ







มาถึงไส้กรองน้มันเครื่องสักที เนื่องจากอะไหล่ของฮอนด้า ผมไม่สามารถหาซื้อได้จากร้านขายอะไหล่มอเตอร์ไซค์ทั่วไป ก็ต้องหาของยี่ห้ออื่นใส่ทดแทนครับ ในรูปเป็นไส้กรองของ คาวาซากิ เชียร์




ของเทียมก็มีครับ ลองเปรียบเทียบกันดู







ทำความสะอาด น้ำไส้กรองของใหม่สวมเข้าประจำการแทนของเดิมแล้วประกอบฝาปิดไส้กรองน้ำมันเครื่องครับ การขันน็อตก็เหมือนเดิมให้ขันแนวทะแยง ค่อย ๆ กวดเข้าไปอย่าใช้แรงขัน ระวังเกลียวจะรูด








ขันน็อตถ่ายน้ำมันเครื่องที่อยู่ใต้เครื่องให้เรียบร้อย แล้วใส่น้ำมันเครื่องใหม่ สังเกตุระดับน้ำมันเครื่องได้จากตาแมวครับ ผมเติม 1.5 ลิตร ตามคู่มือ ระดับน้ำมันเครื่องจะอยู่ใต้ขีดพอดี






ลองสตาร์ทเครื่องยนต์เช็คดูให้เรียบร้อยว่าไม่มีน้ำมันซึมออกจากประเก็นฝาปิดไส้กรองน้ำมันเครื่อง เมื่อแน่ใจแล้วก็ประกอบแฟริ่งกลับได้เลย เป็นอันจบขั้นตอนครับ

ความรู้เกี่ยวกับยางมอเตอร์ไซค์

ยาง...เลือกให้เหมาะ  ใช้ให้ถูก





บางทีซื้อยางมาไม่รู้ว่าจะได้ยางเก่ายางใหม่ ขนาดยางเท่าไหร่ ใช้งานแบบไหนดี และยางที่มีจะใช้ได้ดีอีกแค่ไหน ผู้ผลิตยางเองก็มีการบอกข้อมูลต่างๆมาบนยางแล้วมากพอควร มาดูกันทีละตัวเลย

เริ่มต้นจากตัวเลขและตัวหนังสือบนแก้มยางก่อน ตัวแรกสุดที่เราจะเห็นและให้ความสำคัญกับมันมากที่สุดคือ ขนาด
วิธีการบอกขนาดของยางมีหลายมาตรฐาน แต่เอาแค่ที่ใช้กันมากๆสองแบบก็พอ

แบบแรกคือบอกในมาตรานิ้ว พวกรถรุ่นเก่าหรือรถเล็กบ้านเราบางรุ่นจะใช้แบบนี้
ตัวอย่างเช่น 2.25 L 17 4PR
2.25 คือความกว้างหน้ายาง 2.25 นิ้ว
L คือเรทความเร็วสูงสุดที่ยางรับได้ ซึ่งตัว L หมายถึง 120 กม./ชม.
17 คือขนาดขอบล้อ 17 นิ้ว
4 PR คือ Ply Rating หมายถึงความแข็งแรงของวัสดุที่ใช้รองหน้ายาง เทียบเท่ากับความแข็งแรงของการรองด้วยชั้นผ้าใบ 4 ชั้น

แบบที่สองคือบอกเป็นมาตราเมตริก ที่ให้ข้อมูลได้ละเอียดกว่า ยางรุ่นใหม่ๆจึงนิยมบอกขนาดเป็นเมตริกกันมากกว่า
ตัวอย่างเช่น 120/70-ZR17 58W
120 คือความกว้างหน้ายาง 120 มิลลิเมตร
70 คือความสูงแก้มยาง วัดเป็นเปอร์เซ็นต์ของความกว้างหน้ายาง ในตัวอย่างคือ 70% ของ 120 นั่นคือยางมีความสูง 84 มม.
Z คือตัวบอกว่าเป็นยางที่ใช้กับรถความเร็วสูง
R คือบอกชนิดของยาง ว่าเป็นยางเรเดียล ถ้าไม่มีตัวนี้แสดงว่าเป็นยาง Belt Bias
17 คือขนาดขอบล้อ 17 นิ้ว
58 คือเรทการรับน้ำหนักสูงสุดของยาง (Load Index) เทียบเท่ากับ 236 กิโลกรัม
W คือเรทความเร็วสูงสุดที่ยางรับได้ ซึ่งตัว W หมายถึงไม่เกิน 270 กม./ชม.
ถ้ามีคำว่า M/C อยู่นั่นจะเป็นตัวบอกว่ายางเส้นนี้ออกแบบมาให้ใช้กับมอเตอร์ไซค์ 





เรทการรับความเร็วสูงสุดของยาง
B ----- 50 km/h ----- 31 mph
C ----- 60 km/h ----- 37 mph
D ----- 65 km/h ----- 40 mph
E ----- 70 km/h ----- 43 mph
F ----- 80 km/h ----- 50 mph
G ----- 90 km/h ----- 56 mph
J ----- 100 km/h ----- 62 MPH
K ----- 110 km/h ----- 68 MPH
L ----- 120 km/h ----- 75 MPH
M ----- 130 km/h ----- 81 MPH
N ----- 140 km/h ----- 87 MPH
P ----- 150 km/h ----- 93 MPH
Q ----- 160 km/h ----- 99 MPH
R ----- 170 km/h ----- 106 MPH
S ----- 180 km/h ----- 112 MPH
T ----- 190 km/h ----- 118 MPH
U ----- 200 km/h ----- 124 MPH
H ----- 210 km/h ----- 130 MPH
V ----- 240 km/h ----- 150 MPH
W ----- 270 km/h ----- 168 MPH
Y ----- 300 km/h ----- 186 MPH
Z ----- over 240 km/h ----- over 150 mph

ด้านหลังของตัวเลขบอกขนาดหรือบอกชื่อรุ่นยางอาจจะมีตัวหนังสือ F หรือ R อยู่ด้วย บางทีก็บอกกันตรงๆเลยว่า Front หรือ Rear บอกให้รู้ว่ายางเส้นนี้ใช้กับล้อหน้าหรือล้อหลัง พร้อมกับลูกศรบอกทิศทางการหมุน เวลาใส่ต้องใส่ให้ถูกทิศทางด้วย แล้วก็บอกประเภทของยางเช่นยาง Radial แบบในรูปนี้ 






ตัวสำคัญอีกตัวหนึ่งคือ *DOT* มองหาตัวนี้แล้วก็ดูตัวเลขชุด 4 ตัวที่ตามหลัง นั่นจะเป็นตัวบอกวันที่ผลิตยางเส้นนั้น ตัวเลขสองตัวแรกบอกสัปดาห์ที่เท่าไหร่ ตัวเลขสองตัวหลังบอกว่าของปีอะไร อย่างเช่น *DOT* (*2106*) นั่นคือยางเส้นนั้นผลิตในสัปดาห์ที่ 21 ของปี 2006

ต่อมาก็เป็นตัวบอกน้ำหนักบรรทุกสูงสุด บอกเป็นตัวเลขกันตรงๆเลย แล้วก็แรงดันลมยางสูงสุดที่ยางจะรับได้ แล้วก็ตัวบอกความแข็งแรงของยางเช่น LR5 อย่างในรูปข้างล่างนี่คือความแข็งแรงเทียบเท่าชั้นผ้าใบเรเดียล 5 ชั้น

ยางบางรุ่นจะบอกวัสดุที่ใช้ทำชั้นโครงสร้างเสริมความแข็งแรงของยางด้วย อย่างรูปข้างล่างนี่บอกว่าหน้ายางมีโครงสร้างเป็น Aramid 2 ชั้น และ Rayon 2 ชั้น ส่วนแก้มยางมีโครงสร้างเป็น Rayon 2 ชั้น
Aramid นั้นเราจะรู้จักกันในชื่อทางการค้าว่า Kevlar 





ถ้ามองที่แก้มยางตรงส่วนที่ชิดหน้ายาง จะมองเห็นรูปสามเหลี่ยมเป็นหัวลูกศรชี้ขึ้นไปที่หน้ายาง ถ้ามองไล่ตามแนวลูกศรขึ้นไปที่หน้ายางจะเห็นร่องดอกยางจุดหนึ่งที่ตื้นกว่าบริเวณอื่ นๆ นั่นคือร่องบอกความลึกดอกยาง ถ้าเมื่อไหร่ร่องตรงส่วนที่ตื้นนี้เรียบเสมอไปกับหน้ายางแล้วล่ะก็ แสดงว่าดอกยางเหลือน้อยเกินกว่าจะใช้งานแล้ว ถึงเวลาเปลี่ยนยางได้แล้ว

อีกส่วนคือแถบสีที่เป็นเส้นพาดยางตามเส้นรอบวงยาง เป็นตัวบอกระยะรันอินของยาง เพราะยางใหม่ๆจะมีการเคลือบสารเคมีเพื่อรักษาสภาพยางเอาไว้ เมื่อเอามาใช้สารเคลือบตัวนี้จะยังอยู่แล้วมันจะลื่น ใช้ไปเรื่อยๆแถบสีนี้จะจางลงๆ พอหมดก็แสดงว่ายางพร้อมใช้งาน เกาะถนนได้เต็มประสิทธิภาพแล้ว ส่วนขนๆที่อยู่รอบยางนั่นเป็นช่องไล่อากาศเวลาฉีดน้ำยางเข้าแบบ ใช้ๆไปมันก็หลุดร่วงไปเอง 





ทีนี้เราก็รู้ล่ะว่ายางเส้นหนึ่งมีอะไรที่ผู้ผลิตบอกเราไว้บ้าง แล้วเวลาเลือกยาง มันมีหลายรุ่นหลายแบบ ต่างขนาดกันนิดๆหน่อยๆก็พอใส่แทนกันได้ แต่ใส่ไปแล้วจะเกิดอะไรตามมาน่ะรึ

อย่างแรกเลยคือความโค้งหน้ายางผิดไป ยางแต่ละขนาดจะออกแบบมาให้ใช้กับขอบล้อที่ความกว้างต่างกัน เมื่อเอามาใส่กับขอบล้อผิดขนาดมันก็บีบหรือถ่างให้ฐานของส่วนโค้งมีความกว้างผิดไป ผลคือรัศมีความโค้งหน้ายางเปลี่ยนไปจากที่ออกแบบมา ผลของมันก็มีตั้งแต่เล็กๆน้อยๆไปจนถึงร้ายแรง ขนาดเส้นรอบวงยางอาจจะผิดไปเล็กน้อย นั่นไม่เท่าไหร่ แต่ความโค้งเปลี่ยนพื้นที่สัมผัสและมุมของยางที่สัมผัสพื้นเปลี่ยนไป การยึดเกาะถนนก็เปลี่ยนไปกินกำลังรถมากกว่าเดิมหรือไม่เกาะถนนเท่าเดิม ผลจากร่องรีดน้ำไล่ฝุ่นต่างๆก็เปลี่ยนไป นี่เรื่องใหญ่พอควร และสำคัญมากๆคือฟีลลิ่งการขับขี่เปลี่ยนไป ยางที่กางออกมาจะเข้าโค้งได้เฉื่อยชากว่าเดิมคือเอียงรถเท่าเดิมแต่เลี้ยวได้น้อยกว่ าเดิมหรือรัศมีวงเลี้ยวจากการเอียงรถมากขึ้น แต่ถ้ายางถูกบีบจากขอบล้อแคบๆ หน้ายางจะแหลมกว่าเดิมและมีความโค้งไม่สม่ำเสมอคือเป็นรูปส่วนของวงรีแทนที่จะเป็นวง กลม เดินคันเร่งมากตอนที่รถตั้งตรงอาจจะมีอาการเลื้อยให้เห็น จังหวะเข้าโค้งจะมีช่วงหนึ่งที่ยางสัมผัสถนนน้อยลงจนออกอาการเหมือนจะหลุดโค้ง โดยเฉพาะช่วงออกจากโค้งถ้าเดินคันเร่งมากในจังหวะนี้ก้มีโอกาสจะดิ้นปั้ดๆได้มาก

สรุปแล้วยางไซส์มาตรฐานดีที่สุด เปลี่ยนขนาดยางก็ควรเปลี่ยนล้อด้วย แต่ถ้าขี่เล่นชิวๆยางผิดขนาดไปเบอร์หนึ่งก็ไม่เป็นไร อย่างที่ทำกันมากคือยางหลัง 180/55-17 ล้อ 5.5" แต่มักจะใส่ยาง 190/50-17 ที่ทำไว้ใช้กับล้อ 6" ผิดขนาดเล็กน้อยแต่ก็เห็นผลพอควร ถ้าจับอาการได้จะรู้สึกเลยว่ายาง 190/50 วิ่งทางตรงนิ่งดี และให้ความมั่นใจในโค้งได้ดีกว่า เข้าโค้งแล้วมิดหน้ายางพอดีแต่ยาง 180/55 ใส่โค้งเต็มๆแล้วมีล้นขอบให้หวาดเสียวอยู่เรื่อย

แต่ถ้าจะให้แน่ใจ ลองเช็คกับเว็บไซท์ผู้ผลิตยาง เพราะยางบางแบบออกแบบมาให้ใช้กับขอบล้อต่างความกว้างกัน อย่างเช่นยาง 190/50-17 บางรุ่นออกแบบมาให้ใช้กับล้อ 5.5" ก็มีความกว้างกัน อย่างเช่นยาง 190/50-17 บางรุ่นออกแบบมาให้ใช้กับล้อ 5.5" ก็มี



ในรูปนี้คือความโค้งที่ต่างกันของยาง 190/50 กับ 180/55 บนขอบ 5.5" เหมือนกัน จะเห็นว่าเส้นสีน้ำเงินที่แสดงถึงยาง 190/50 ถูกถ่างออกจนหน้ายางส่วนที่จะสัมผัสพื้นกางและโค้งน้อยกว่า 180/55 ที่เป็นเส้นสีเขียว ทำให้ 190 มีหน้าสัมผัสพื้นถนนบนทางตรงมากกว่าทำให้กินกำลังและหนืดกว่า
พอเริ่มเอียงรถ ความโค้งของเส้นเขียวมากกว่าจะทำให้เลี้ยวได้คล่องและเปลี่ยนทิศทงาเร็วกว่า 190 ที่เห็นจากเส้นน้ำเงินของ 190 ที่ความโค้งค่อยๆเปลี่ยนทำให้การเริ่มเข้าโค้งจะเฉื่อยกว่า
แต่เมื่อเอียงรถลงมาถึงระดับหนึ่งจะเห็นเส้นโค้งหน้ายางช่วงต่อมาที่ทำไว้รับการเข้า โค้งใกล้เคียงกัน ที่เห็นเส้นเขียวของ 180 กับเส้นน้ำเงิน 190 ซ้อนทับกัน จากช่วงนั้นการเข้าโค้งจะได้ฟีลเดียวกัน
แต่เมื่อเลยมาจนสุดจะเห็นเส้นเขียวของ 180 หมดก่อนแต่เส้นน้ำเงินของยาง 190 ยังมีต่อ นั่นคือ 190/50 มีส่วนของหน้ายางมากกว่า รองรับการเอียงรถได้มากกว่า 





เมื่อดูขนาดที่พอใจแล้วก็มาดูที่ลักษณะการใช้งาน ยางที่ขายทั่วไปมีทั้งลายดอกยางแบบใช้งานบนถนนทั่วไป ทางฝุ่น รถความเร็วสูง ไปจนถึงยางสำหรับขาซิ่ง ให้เลือกดูว่าเราใช้งานแบบไหนเป็นหลัก และยางแต่ละแบบมีข้อจำกัดต่างกัน

ยางที่ทำไว้ใช้งานทั่วไป เน้นการใช้งานในเมือง สามารถรับกับสภาพเส้นทางหลากหลายแต่ไม่เหมาะกับความเร็วสูง สามารถรีดน้ำและเผื่อทางลุยนิดๆได้ดี อายุใช้งานนาน ราคาถูก






สำหรับขาลุยหรือคนที่บ้านกันดาร ก็ต้องยางลุยทางฝุ่น ตะกุยพื้นได้ดี แต่วิ่งทางเรียบกระเทือนมาก วิ่งเร็วไม่ได้ มันส่าย ใช้งานได้ทน ราคาค่อนข้างสูง 




ยางสำหรับ Cruiser หรือ Touring เน้นที่การเดินทางไกลด้วยความเร็วไม่สูง รับได้ทุกสภาพอากาศ มีความทนทาน ใช้งานได้นานและให้ความนุ่มนวลดีกว่ายางสปอร์ 




ยางที่ทำไว้ใช้บนถนนธรรมดากับความเร็วสูงขึ้นมาหน่อย รีดน้ำได้ดี ใช้งานได้หลากหลาย จะเหมาะสำหรับคนชอบเที่ยวตามถนนดำทั่วไป อายุใช้งานนาน ราคาค่อนข้างถูก 





สำหรับรถความเร็วสูง แต่ก็ยังเน้นที่การเดินทางแบบสบายๆ เกาะถนนดีกว่า เนื้อยางนิ่มกว่า อายุใช้งานก็เลยสั้นลงมาหน่อย ราคาสูงขึ้นอีกนิด 







สำหรับรถความเร็วสูงที่เน้นการใช้ความเร็ว แลกสมรรถนะการเกาะถนนที่ดีขึ้นกับการรีดน้ำตะกายฝุ่นที่แย่ลงจากที่เห็นว่าร่องรีดน้ ำหายไปมาก เนื้อยางนิ่มขึ้นมาอีกระดับ อายุสั้น ราคาแพงขึ้นอีก เหมาะสำหรับนักเที่ยวขาซิ่ง 





สำหรับนักซิ่งโดยเฉพาะ เจอน้ำเจอฝุ่นล่ะวิ่งไม่เป็นเลยแต่ดีโคตรๆกับทางแห้ง เกาะเป็นตีนตุ๊กแก อายุโคตรสั้น ออกทริปเดียวยางเกลี้ยงเลย ราคามหาโหด
แล้วยังมี Compound นิ่มพิเศษ เกาะหนึบหนับ บดคันเร่งจะเห็นยางเป็นขุย วิ่งได้ไม่กี่กิโลก็เรียบสนิท เห็นแล้วอยากนั่งร้องไห้กับราคายาง 






ยางสลิคแกะดอกชัดๆ เนื้อยางเป็นสูตรยางสนาม เอามาขี่เที่ยวอาจหมดก่อนกลับถึงบ้าน ราคาอย่าให้พูดเลย เปลี่ยนยางไม่กี่ทีก็เท่าราคารถแล้ว 



สุดท้ายกับยางสูตรยอดนิยม ไม่เกาะ ไม่นุ่ม ไม่ลุย ไม่รีดน้ำ แต่ทนและถูก 




จากที่ว่ามาถึงยางหลายสูตรที่ต่างกันทั้งลายดอกยาง ความแข็งแรงของโครงสร้าง เนื้อยาง ฯลฯ ซึ่งล้วนแต่มีผลกับการใช้งาน ถ้าเราเอายางเนื้อแข็งใช้ทนราคาถูกมาเทโค้ง โอกาสกลิ้งมีสูง หรือเราเอายางเรซซิ่งเนื้อนิ่มเป็นยางลบมาใส่วิ่งในเมือง เราจะเจอเหล็กปูถนนบาดยาง ก้อนกรวดเศษกระจกแตกฝังเข้าเนื้อ ยางจะหมดสภาพไปก่อนวัยอันควรโดยไม่ได้ใช้ประโยชน์ให้สมราคาของมันเลย เลือกยางให้ถูกกับประเภทการใช้งานดีกว่าจะไปเลือกเพราะมันเกาะถนนที่สุด ราคาแพงที่สุด ถ้าไม่ได้ใช้ประโยชน์เฉพาะทางจากมันก็จะเสียเงินเปล่า

เมื่อได้ขนาด ได้ชนิดของยางที่พอใจแล้ว ก็มาดูที่วันที่ผลิต ยางใหม่ได้เปรียบ แต่ก็ไม่ใช่ยางเก่าจะใช้ไม่ได้ ยางรถถ้าเก็บดีๆสามารถเก็บได้นาน 3-5 ปีโดยไม่เสื่อมสภาพ ดูวิธีเก็บยางของร้านก็จะพอรู้ได้ว่าร้านนั้นเก็บยางดีแค่ไหน
ถ้าหากเก็บด้วยการวางยางตั้งไว้บนชั้นเยอะมีฝุ่นจับเขรอะ แบบนี้ยางเสียง่ายเพราะน้ำหนักตกทับจุดเดียว ยางจะเสียรูปไม่กลม ถ้าไม่มีฝุ่นก็อาจเป็นได้ว่าเขาหมุนยางที่วางเป็นระยะๆ ทำให้ยางไม่โดนกดทับที่เดียว ยางจะไม่เสียรูป เว้นแต่ว่าที่ไม่มีฝุ่นเพราะปัดออกเท่านั้น ถึงได้บอกให้เลือกยางใหม่ อย่างน้อยมันก็วางมาไม่นานล่ะ
การเก็บยางด้วยการวางตะแคงซ้อนๆกันจะรักษาสภาพยางได้ดีกว่า แต่วางทับมากๆก็ไม่ดีอีกน่ะแหละ อีกอย่างคือที่เก็บยางต้องเย็นและแห้ง และจำไว้ว่ายางจะเสื่อมสภาพได้เร็วที่สุดเมื่อโดนรังสี UV

ขั้นต่อมาเมื่อเลือกยางได้ เวลาใส่ยางก็ต้องดูให้ดี โดยเฉพาะยาง Tubeless อย่าใช้วิธีงัดเอาดื้อๆเชียวล่ะ ขอบยาง Tubeless จะเกาะขอบแน่นมาก ควรจะใช้เครื่องถอดยางแบบรถยนต์ หรือถ้าไม่มีรก็่ต้องใช้เครื่องกดขอบยางให้หลุดจากล้อ ถ้าไม่มีอีกก็ใช้ท่อนไม้วางบนแก้มยางแล้วขึ้นไปเหยียบให้ยางหลุดขอบ แล้วค่อยงัดออกโดยใช้แผ่นรองเหล็กงัดอย่าให้ขอบล้อบิ่น ไม่งั้นลมจะรั่ว เวลางัดยางเข้าหรือออกก็ต้องไม่ให้มีรอบปริขาดที่ขอบยาง ไม่งั้นยางจะรั่วและเสียไปเลย สรุปแล้วใช้เครื่องถอดดีที่สุด ถ้าร้านยางมีเครื่องถ่วงล้อก็จัดการซะเลย

เมื่อได้ยางมาใช้แล้วก็ต้องดูแลให้ดี โดยเฉพาะรถที่ต้องจอดโดนแดดจัดเป็นประจำ ควรจะล้างทำความสะอาดด้วยน้ำยาล้างรถ ใช้แปรงขนอ่อนขัด ถ้าเศษหินเศษอะไรติดก็แซะออกซะด้วย ทิ้งไว้มันจะกดให้เนื้อยางฉีกปริออกมา ล้างเสร็จแล้วพอแห้งก็ลงน้ำยาเคลือบยางซึ่งจะช่วยปกป้องเนื้อยางจากรังสี UV ช่วยไม่ให้แตกลายงา แต่ระวังเพราะถ้าลงน้ำยาไปถึงหน้ายางด้วยมันจะลื่น ถ้าเคลือบทั่วๆก็ต้องเอามาวิ่งช้าๆซักระยะให้น้ำยาที่หน้ายางหลุดไปก่อน

สุดท้ายล่ะ การเติมลมยาง ตามสเปครถที่มักจะบอกไว้บนบังโซ่ ถ้าไม่รู้ก็หน้า/หลัง 30/30 psi แล้วค่อยไปปรับกันตามความพอใจ การวัดลมยางต้องทำในขณะที่ยางเย็น วิ่งไปยางร้อนขึ้นจะมีแรงดันสูงขึ้น ค่าที่วัดได้จะเพี้ยนเพราะสเปคลมยางของผู้ผลิตเขาบอกค่าในขณะยางเย็นก็ต้องวัดตามระบ บของเขา
ความเชื่อผิดๆของหลายคนคือในขณะฝนตกหรือวิ่งลุยน้ำ มักจะปล่อยลมยางออกเพราะเชื่อว่ายางอ่อนจะเกาะถนนดีกว่า แต่ความจริงแล้วถ้าลมยางอ่อนหน้ายางจะบิดตัวง่าย ทำให้ผิวสัมผัสลดลง การเกาะถนนก็ลดลง และร่องรีดน้ำของยางจะถูกกดทับทำให้มีอาการเหินน้ำได้ง่าย จึงควรใช้ลมยางมาตรฐานจะดีที่สุด
การเดินทางไกลต้องเติมลมมากกว่าปกติเล็กน้อย เพื่อให้ยางมีอุณหภูมิต่ำ บางคนคิดว่าเติมลมน้อยกว่าเดิมพอยางร้อนแรงดันสูงขึ้นก็จะได้แรงดันพอดี แต่นั่นผิดมหันต์เลย เพราะแรงดันต่ำนั้นจะทำให้ยางร้อนจัด กว่าที่จะได้แรงดันพอดียางจะเสียคุณสมบัติ เนื้อนิ่มลงมากๆและอาจหลุดร่อนจากโครงสร้างหลักหรือระเบิดได้ จำไว้ว่าเราให้ความสำคัญกับความร้อนมากกว่า
ทริคเล็กๆน้อยเกี่ยวกับลมยางคือถ้าเราปล่องลมให้แรงดันต่ำกว่าเดิมนิดหน่อย มันจะหนืดในทางตรงและเสถียรภาพแย่ลงในทางตรง แต่จะเกาะโค้งดีกว่าเดิม ถ้าจะเอาลงสนามหรือไปเล่นกับช่วงที่โค้งมากๆลองวิธีนี้ดูก็ได้
แต่อย่าลืมว่าโค้งลับตาโดยเฉพาะโค้งบนเขาอันตรายมาก ขับขี่ปลอดภัย เมาไม่ขับ อย่าลืมนะ

ขอบคุณ www.fcciracing.com สำหรับข้อมูล